เมนู

บางอย่าง ไม่พึงมีในภิกษุบางรูป ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรในธรรม
วินัยนี้เลย เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็น
ผู้กตัญญู เราจักเป็นผู้กตเวที อุปการะแม้น้อยที่บุคคลกระทำแล้วในพวก
เรา จักไม่เสื่อมหายไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
แหละ.
จบทุติยสิคาลสูตรที่ 12

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. กูฏาคารสูตร 2. นขสิขสูตร 3. กุลสูตร
4. โอกขาสูตร 5. สัตติสูตร 6. ธนุคคหสูตร
7. อาณีสูตร 8. กลิงครสูตร 9. นาคสูตร
10. วิฬารสูตร 11. ปฐมสิคาลสูตร 12.ทุติยสัคาบสูตร.
จบโอปัมมสังยุตที่ 8

อรรถกถาทุติยสิคาลสูตรที่ 12



ในสิคารสูตรที่ 12 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กตญฺญุตา ได้แก่รู้คุณที่ผู้อื่นทำ. บทว่า กตเวทิตา ได้แก่
รู้คุณที่ต่างจากคุณที่เขาทำ (ตอบแทน) ในข้อนั้นมีเรื่องสุนัขจิ้งจอกแก่มี
ความกตัญญู ดังต่อไปนี้.
เล่ากันมาว่า พี่น้อง 7 คนไถนาอยู่ บรรดาพี่น้องเหล่านั้น น้อง
ชายคนสุดท้องไปเลี้ยงโคที่ปลายนา. ขณะนั้นงูเหลือมรัดสุนัขจิ้งจอกแก่
ตัวหนึ่ง. เขาเห็นดังนั้นจึงเอาไม้ตีให้งูปล่อย. งูเหลือมปล่อยสุนัขจิ้งจอก
แล้วรัดเขาทันที สุนัขจิ้งจอกคิดว่า ผู้นี้ช่วยชีวิตเรา แม้เราก็จักช่วยชีวิต

ผู้นี้ จึงคาบมีดที่วางอยู่บนหม้อข้าวยาคู. ได้ไปหาเขา. พวกพี่ ๆ กำลัง
ไถนาอยู่ เห็นเข้าจึงติดตาม ด้วยคิดว่า สุนัขจิ้งจอกลักมีด. สุนัขจิ้งจอกรู้ว่า
พวกพี่ ๆ เหล่านั้นเห็นแล้ว จึงทิ้งมีดไว้ใกล้ ๆ น้องคนสุดท้องแล้วหนี
ไป. พวกพี่ ๆ มาเห็นน้องชายถูกงูเหลือมรัดจึงเอามีดฟันงูเหลือมแล้วได้
พาน้องชายไป. ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างพึงมีในสุนัขจิ้งจอกแก่ ด้วย
ประการฉะนี้.
แม้คำว่า สกฺยปุตฺติยปฏิญฺเญ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความประพฤติ
ของพระเทวทัตเท่านั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยสิคาลสูตรที่ 12
จบโอปัมมสังยุต

9. ภิกขุสังยุต



1. โกลิตสูตร



ว่าด้วยดุษณีภาพอันประเสริฐ



[686] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมค-
คัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ได้รับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.
[687] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ผู้เร้นอยู่ในที่ลับ
อย่างนี้ว่า ที่เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ
ดังนี้ ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความ
ดำริได้มีแก่เราดังนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะระงับวิตกและ
วิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องไสแห่งใจในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียก
ว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้น เพราะ
ระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการอันเกิด
ร่วมกับวิตก ย่อมฟุ้งขึ้น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้-